พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
สมเด็จปรกโพธิ์ ...
สมเด็จปรกโพธิ์ รุ่นเสาร์ 5 หลวงพ่อหวล วัดคลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบ
หลวงพ่อหวล อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ องค์นี้ละครับที่เป็นศิษย์ หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก สำหรับประวัติของหลวงพ่อหวลโดยสังเขป มีดังนี้ครับ
พระราชธรรมาภรณ์ (หวล สุขิโต) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๙ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ ถึง พ.ศ.๒๕๒๙ (๓๗ ปี) ประวัติโดยย่อของพระเดชพระคุณ พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อหวล มีดังนี้

หลวงพ่อหวลเป็นชาวสามร้อยยอด ครอบครัวมีอาชีพทำนาและเลี้ยงวัว อยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลศิลาลอย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ชีวิตในเยาว์วัยศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วช่วยบิดามารดาทำนาและเลี้ยงวัวจนกระทั่งเป็นหนุ่ม เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มท่านชอบการเล่นวัวลานและการชนวัว มีใจนักเลงชนิดไม่ยอมลงให้ใครง่าย ๆ ชีวิตฆราวาสวัยหนุ่มของหลวงพ่อหวลจึงเป็นชีวิตที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย

เมื่อท่านอายุครบที่จะบวชได้ บิดามารดาก็หาอุบายที่จะให้ท่านบวชให้ได้ วันและเวลาที่หลวงพ่อหวลบวชนั้น ต้องหลบเลี่ยงเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในที่สุดต้องอาศัยช่วงเวลาที่มืดค่ำ ประกอบพิธีอุปสมทบให้ท่าน เมื่อวันที่ ๓ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๐ ณ วัดวังยาว อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเจ้าอาวาสวัดเกาะหลักเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อโถ (พระสุเมธีวรคุณ วัดคลองวาฬ) กับหลวงพ่อเบิ้ม (พระวิริยากรโกศล วัดวังยาว) เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อหวลได้รับฉายาว่า สุขิโต ซึ่งแปลว่า ผู้มีความสุขอยู่ในรสพระธรรม

หลวงพ่อเปี่ยมเห็นแววหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของหลวงพ่อหวล จึงพาหลวงพ่อหวลมาอยู่กับท่านที่วัดเกาะหลัก พระเทพสิทธิวิมล เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสวัดคลองวาฬรูปปัจจุบัน ได้บอกเล่าในหนังสือ ”พระราชวิสุทธิคุณ หลวงพ่อเอียด สุทนฺโต : พระดี ผู้มีแต่ให้” ไว้ว่า ”พอบวชเสร็จ หลวงพ่อเปี่ยมพระอุปัชฌาย์ก็เอาหลวงพ่อหวลมาที่วัดเกาะหลักด้วย ท่านบอกว่านี่แหละช้างเผือก หลวงพ่อหวลจึงได้มาอยู่ที่วัดเกาะหลัก มาปฏิบัติหลวงพ่อเปี่ยม” ซึ่งก็หมายความว่า หลวงพ่อเปี่ยมชอบคนใจนักเลงจึงได้ขอพาหลวงพ่อหวลไปอยู่กับท่าน หลวงพ่อหวลเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อเปี่ยม เรียกได้ว่า นี่แหละศิษย์เอกของหลวงพ่อเปี่ยม ในขณะที่อยู่กับหลวงพ่อเปี่ยมนั้นหลวงพ่อหวลก็ได้ศึกษาวิชาอาคมคาถาต่าง ๆ จากหลวงพ่อเปี่ยมเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นท่านยังได้รับผงพระสมเด็จวัดระฆังฯ จากหลวงพ่อเปี่ยม (ซึ่งเมื่อท่านนำผงพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นมาเป็นมวลสารในการทำพระสมเด็จกรุวัดคลองวาฬพิมพ์ต่าง ๆ ก็เป็นที่โด่งดังมากในวงการนักนิยมพระเครื่อง)

ต่อมา ชาวคลองวาฬได้พากันไปขอหลวงพ่อหวลจากหลวงพ่อเปี่ยม เพราะวัดคลองวาฬช่วงนั้นขาดแคลนพระที่มีความรู้ความสามารถเป็นครูสอนนักธรรม หลวงพ่อหวลจึงได้ย้ายมาอยู่ที่วัดคลองวาฬ เป็นครูสอนนักธรรมและช่วยเหลือทำงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายหรือเห็นสมควรช่วยเหลือมาตลอด จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาส เป็นระยะเวลาถึง ๙ ปีก่อนที่หลวงพ่อโถจะย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อหลวงพ่อโถย้ายไปอยู่ที่วัดเกาะหลัก หลวงพ่อหวลก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ และเป็นพระฐานานุกรมที่พระปลัดของเจ้าคณะอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์อีกด้วย วัดคลองวาฬภายใต้การปกครองและการพัฒนาของหลวงพ่อหวลมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ประชาชนก็เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อหวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลวงพ่อหวลมีปฏิปทาแบบสมถะใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ปี พ.ศ.๒๔๗๖ หลวงพ่อหวลได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรัทธาโศภิต และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๐ เมื่อพระสุเมธีวรคุณ (หลวงพ่อโถ) มรณภาพ หลวงพ่อหวลก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่ปฏิบัติกันมานั้นเจ้าคณะจังหวัดจะอยู่วัดเกาะหลักพระอารามหลวง แต่หลวงพ่อหวลยินดีที่จะอยู่เป็นเจ้าคณะจังหวัดที่วัดคลองวาฬ ซึ่งในขณะนั้นวัดคลองวาฬยังเป็นวัดราษฎร์ มิใช่พระอารามหลวงดังเช่นปัจจุบัน เพราะท่านดำรงชีวิตสมถะเรียบง่ายและเอื้ออารีต่อสัตว์โดยเฉพาะสุนัข ภาพของท่านที่มักจะปรากฏแก่คนทั่วไป คือแบกจอบเล่มหนึ่ง เดินดูบริเวณวัด หากพบมูลสุนัข (ขี้หมา) ก็จะกลบฝัง ประชาชนหรือแม้กระทั่งพระอาคันตุกะที่มาหาท่านก็มักจะพบเจอท่านในลักษณะเช่นนี้อยู่เสมอ

เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งมีพระจากต่างจังหวัดเดินทางมาวัดคลองวาฬ เพื่อติดต่อธุระกับหลวงพ่อหวลในฐานะเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเข้ามาในวัดคลองวาฬแล้ว ได้พบหลวงพ่อหวลในขณะกำลังแบกจอบยืนดูบริเวณวัด พระอาคันตุกะเข้าใจว่าท่านเป็นพระหลวงตา (ลูกวัด) เท่านั้น จึงถามว่าเจ้าคณะจังหวัดอยู่ไหม หลวงพ่อหวลก็ตอบว่าอยู่ ไปคอยที่กุฏิรับรองแขกโน้นซิ สักพักหนึ่งหลวงพ่อหวลก็ขึ้นไปบนกุฏิรับรองแขก แล้วก็บอกกล่าวกะพระอาคันตุกะว่า นี่แหละเจ้าคณะจังหวัดล่ะ มีธุระอะไร พระอาคันตุกะรูปนั้นรีบกราบขอโทษท่านก่อนที่จะบอกกล่าวถึงธุระของตน ซึ่งหลวงพ่อหวลก็ไม่ถือสาหาความแต่อย่างใด
ผู้เข้าชม
3667 ครั้ง
ราคา
โชว์พระ
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
ฟ้าประทาน
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
zte.pratharn
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Netipongbatermboonchaithawatปลั๊ก ปทุมธานีชยันโตเอตลาดพลู
jochoโกหมูบอลปราจีนอ้วนโนนสูงเจริญสุขeobeob
ทองธนบุรีchaokohnengggghoppermanเทพจิระอมรทรัพย์พระเครื่อง
บ้านพระหลักร้อยart1เปียโนMannan4747จ่าดี พระกรุaonsamui
แมวดำ99มัญจาคีรี udBAINGERNchathanumaanvanglannaเสน่ห์พระเครื่อง

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1210 คน

เพิ่มข้อมูล

สมเด็จปรกโพธิ์ รุ่นเสาร์ 5 หลวงพ่อหวล วัดคลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
สมเด็จปรกโพธิ์ รุ่นเสาร์ 5 หลวงพ่อหวล วัดคลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบ
รายละเอียด
หลวงพ่อหวล อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ องค์นี้ละครับที่เป็นศิษย์ หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก สำหรับประวัติของหลวงพ่อหวลโดยสังเขป มีดังนี้ครับ
พระราชธรรมาภรณ์ (หวล สุขิโต) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๙ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ ถึง พ.ศ.๒๕๒๙ (๓๗ ปี) ประวัติโดยย่อของพระเดชพระคุณ พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อหวล มีดังนี้

หลวงพ่อหวลเป็นชาวสามร้อยยอด ครอบครัวมีอาชีพทำนาและเลี้ยงวัว อยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลศิลาลอย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ชีวิตในเยาว์วัยศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วช่วยบิดามารดาทำนาและเลี้ยงวัวจนกระทั่งเป็นหนุ่ม เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มท่านชอบการเล่นวัวลานและการชนวัว มีใจนักเลงชนิดไม่ยอมลงให้ใครง่าย ๆ ชีวิตฆราวาสวัยหนุ่มของหลวงพ่อหวลจึงเป็นชีวิตที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย

เมื่อท่านอายุครบที่จะบวชได้ บิดามารดาก็หาอุบายที่จะให้ท่านบวชให้ได้ วันและเวลาที่หลวงพ่อหวลบวชนั้น ต้องหลบเลี่ยงเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในที่สุดต้องอาศัยช่วงเวลาที่มืดค่ำ ประกอบพิธีอุปสมทบให้ท่าน เมื่อวันที่ ๓ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๐ ณ วัดวังยาว อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเจ้าอาวาสวัดเกาะหลักเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อโถ (พระสุเมธีวรคุณ วัดคลองวาฬ) กับหลวงพ่อเบิ้ม (พระวิริยากรโกศล วัดวังยาว) เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อหวลได้รับฉายาว่า สุขิโต ซึ่งแปลว่า ผู้มีความสุขอยู่ในรสพระธรรม

หลวงพ่อเปี่ยมเห็นแววหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของหลวงพ่อหวล จึงพาหลวงพ่อหวลมาอยู่กับท่านที่วัดเกาะหลัก พระเทพสิทธิวิมล เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสวัดคลองวาฬรูปปัจจุบัน ได้บอกเล่าในหนังสือ ”พระราชวิสุทธิคุณ หลวงพ่อเอียด สุทนฺโต : พระดี ผู้มีแต่ให้” ไว้ว่า ”พอบวชเสร็จ หลวงพ่อเปี่ยมพระอุปัชฌาย์ก็เอาหลวงพ่อหวลมาที่วัดเกาะหลักด้วย ท่านบอกว่านี่แหละช้างเผือก หลวงพ่อหวลจึงได้มาอยู่ที่วัดเกาะหลัก มาปฏิบัติหลวงพ่อเปี่ยม” ซึ่งก็หมายความว่า หลวงพ่อเปี่ยมชอบคนใจนักเลงจึงได้ขอพาหลวงพ่อหวลไปอยู่กับท่าน หลวงพ่อหวลเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อเปี่ยม เรียกได้ว่า นี่แหละศิษย์เอกของหลวงพ่อเปี่ยม ในขณะที่อยู่กับหลวงพ่อเปี่ยมนั้นหลวงพ่อหวลก็ได้ศึกษาวิชาอาคมคาถาต่าง ๆ จากหลวงพ่อเปี่ยมเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นท่านยังได้รับผงพระสมเด็จวัดระฆังฯ จากหลวงพ่อเปี่ยม (ซึ่งเมื่อท่านนำผงพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นมาเป็นมวลสารในการทำพระสมเด็จกรุวัดคลองวาฬพิมพ์ต่าง ๆ ก็เป็นที่โด่งดังมากในวงการนักนิยมพระเครื่อง)

ต่อมา ชาวคลองวาฬได้พากันไปขอหลวงพ่อหวลจากหลวงพ่อเปี่ยม เพราะวัดคลองวาฬช่วงนั้นขาดแคลนพระที่มีความรู้ความสามารถเป็นครูสอนนักธรรม หลวงพ่อหวลจึงได้ย้ายมาอยู่ที่วัดคลองวาฬ เป็นครูสอนนักธรรมและช่วยเหลือทำงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายหรือเห็นสมควรช่วยเหลือมาตลอด จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาส เป็นระยะเวลาถึง ๙ ปีก่อนที่หลวงพ่อโถจะย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อหลวงพ่อโถย้ายไปอยู่ที่วัดเกาะหลัก หลวงพ่อหวลก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ และเป็นพระฐานานุกรมที่พระปลัดของเจ้าคณะอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์อีกด้วย วัดคลองวาฬภายใต้การปกครองและการพัฒนาของหลวงพ่อหวลมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ประชาชนก็เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อหวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลวงพ่อหวลมีปฏิปทาแบบสมถะใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ปี พ.ศ.๒๔๗๖ หลวงพ่อหวลได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูศรัทธาโศภิต และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๐ เมื่อพระสุเมธีวรคุณ (หลวงพ่อโถ) มรณภาพ หลวงพ่อหวลก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่ปฏิบัติกันมานั้นเจ้าคณะจังหวัดจะอยู่วัดเกาะหลักพระอารามหลวง แต่หลวงพ่อหวลยินดีที่จะอยู่เป็นเจ้าคณะจังหวัดที่วัดคลองวาฬ ซึ่งในขณะนั้นวัดคลองวาฬยังเป็นวัดราษฎร์ มิใช่พระอารามหลวงดังเช่นปัจจุบัน เพราะท่านดำรงชีวิตสมถะเรียบง่ายและเอื้ออารีต่อสัตว์โดยเฉพาะสุนัข ภาพของท่านที่มักจะปรากฏแก่คนทั่วไป คือแบกจอบเล่มหนึ่ง เดินดูบริเวณวัด หากพบมูลสุนัข (ขี้หมา) ก็จะกลบฝัง ประชาชนหรือแม้กระทั่งพระอาคันตุกะที่มาหาท่านก็มักจะพบเจอท่านในลักษณะเช่นนี้อยู่เสมอ

เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งมีพระจากต่างจังหวัดเดินทางมาวัดคลองวาฬ เพื่อติดต่อธุระกับหลวงพ่อหวลในฐานะเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเข้ามาในวัดคลองวาฬแล้ว ได้พบหลวงพ่อหวลในขณะกำลังแบกจอบยืนดูบริเวณวัด พระอาคันตุกะเข้าใจว่าท่านเป็นพระหลวงตา (ลูกวัด) เท่านั้น จึงถามว่าเจ้าคณะจังหวัดอยู่ไหม หลวงพ่อหวลก็ตอบว่าอยู่ ไปคอยที่กุฏิรับรองแขกโน้นซิ สักพักหนึ่งหลวงพ่อหวลก็ขึ้นไปบนกุฏิรับรองแขก แล้วก็บอกกล่าวกะพระอาคันตุกะว่า นี่แหละเจ้าคณะจังหวัดล่ะ มีธุระอะไร พระอาคันตุกะรูปนั้นรีบกราบขอโทษท่านก่อนที่จะบอกกล่าวถึงธุระของตน ซึ่งหลวงพ่อหวลก็ไม่ถือสาหาความแต่อย่างใด
ราคาปัจจุบัน
โชว์พระ
จำนวนผู้เข้าชม
3725 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
ฟ้าประทาน
URL
เบอร์โทรศัพท์
0848326161
ID LINE
zte.pratharn
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี